วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มรดกทางธรรมชาติประเทศอินโดนีเซีย




มรดกทางธรรมชาติของประเทศอินโดนีเซีย
บุโรพุทโธ
มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในภาคกลางของเกาะชวา ห่างจากยอกยาการ์ตาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว40 กิโลเมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 1293 - 1393 โดยบุโรพุทโธเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ถ้าไม่นับนครวัดของกัมพูชาซึ่งเป็นทั้งศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ บุโรพุทโธจะเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ในปีพ.ศ. 2534 องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้บุโรพุทโธเป็นมรดกโลก


ผ้าบาติก
หลังจากผ่านขั้นตอนการพิจารณาที่ซับซ้อนเป็นระยะเวลานาน องค์กรด้านอนุรักษ์วัฒนธรรม ยูเนสโก” ได้ขึ้นทะเบียนให้ผ้าบาติกของอินโดนีเซีย เป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมของโลก



อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอน (Ujung Kulon National Park)
      ตั้งอยู่ปลายเกาะชวาด้านตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย เขตอุทยานแห่งชาติมีเนื้อที่ประมาณ 782 ตารางกิโลเมตร ได้รับการประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติเมื่อปี ค.ศ. 1980 มีสัตว์แปลก ๆ มากมาย เช่น แรดชวา วัวแดง ชะนีชวา ค่าง และสุนัขป่า  อุทยานแห่งชาติอูจุงกูลอนได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534

พรัมบานัน คือเทวสถานในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในเขตชวากลาง ห่างจากเมืองยอกยาการ์ตาไปทางตะวันออกประมาณ 18 กิโลเมตร ตัววัดนั้นสร้างขื้นเมื่อราวปี พ.ศ. 1390 แต่หลังจากสร้างเสร็จได้ไม่นาน ตัววัดก็ถูกทอดทิ้งและถูกปล่อยให้ทรุดโทรมตามกาลเวลา จนเมื่อถึงปี พ.ศ. 2461จึงได้มีการเริ่มบูรณะวัดขึ้นมา การบูรณะของสิ่งก่อสร้างหลักสิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ. 2496 
ในปัจจุบัน พรัมบานันได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 ภายใต้ชื่อ "กลุ่มวัดพรัมบานัน" เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย 

อุทยานแห่งชาติโคโมโด 
        เป็นอุทยานแห่งชาติในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ใกล้หมู่เกาะซุนดาน้อยมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 4,000 คน ก่อตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2523 เพื่ออนุรักษ์มังกรโคโมโด ภายหลังยังจัดเป็นพื้นที่สำหรับอนุรักษ์สัตว์ป่าและสัตว์ทะเลชนิดอื่นๆอีกด้วย ใน พ.ศ. 2534 อุทยานได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก

แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน 
คือแหล่งขุดค้นมนุษย์ชวาที่ได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกของประเทศอินโดนีเซียในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 20 เมื่อปี พ.ศ. 2539 ที่เมืองเมรีดา ประเทศเม็กซิโก 

อุทยานแห่งชาติโลเรนซ์ 
        คือพื้นที่อนุรักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่มีสภาพแวดล้อมหลากหลายมากที่สุดในโลกอุทยานแห่งชาติโลเรนซ์ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 23 เมื่อปี พ.ศ. 2542ที่เมืองมาร์รา-เกช ประเทศโมร็อกโก

มรดกของป่าฝนเขตร้อนบนเกาะสุมาตรา 
แหล่งมรดกโลกของประเทศอินโดนีเซียที่ตั้งอยู่บนเกาะสุมาตรา ประกอบด้วยเขตอุทยานแห่งชาติ แห่งได้แก่ อุทยานแห่งชาติกุนุงลูเซอร์ (Gunung Leuser) อุทยานแห่งชาติเครินซีเซบลัต (Kerinci Seblat) และอุทยานแห่งชาติบูกิตบาริซานเซลาตัน (Bukit Barisan Selatan)
อุทยานแห่งชาติทั้ง แห่งได้ร่วมกันขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "มรดกของป่าฝนเขตร้อนบนเกาะสุมาตรา" ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 28 เมื่อปี พ.ศ. 2547 ที่เมืองซูโจว ประเทศจีน

 ผู้จัดทำ
นางสาว ปุณยาพร พีรานุวัฒน์  เลขที่ 39 ม. 4/2
นางสาว อารีรัตน์ ภูคงคา เลขที่ 43 ม. 4/2